เคล็ดลับ การบริหารหัวใจให้แข็งแรง

รพ. หัวใจกรุงเทพ เผยพบโรคซับซ้อนทางด้านหัวใจคร่าชีวิตคนไทยเพิ่มขึ้น 

ปัจจุบัน โรคหัวใจในไทยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเองทุกปี จากกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีไขมันทำให้เป็นโรคไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีภาวะอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดขึ้นกับหัวใจอีกมากมาย ซับซ้อนจากเดิม ซึ่งเป็นปัญหาใหม่ระดับโลกและระดับประเทศ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ จึงแนะแนวทางการรักษาโรคซับซ้อนทางด้านหัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่เข้าข่ายเสี่ยง รวมไปถึงวิธีการรักษาด้วยยาและการผ่าตัด เพื่อเตรียมรับมือกับโรค
ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

นพ.ประดับ สุขุม (กลาง) ผู้อำนวยการ รพ.หัวใจกรุงเทพ

นพ.ประดับ  สุขุม  ผู้อำนวยการ  รพ.หัวใจกรุงเทพ เปิดเผยว่า พบสถิติผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจมากที่สุด
ถึง 40 % และมีแนวโน้มว่าตัวเลขนี้จะสูงขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังมีแนวโน้มเกิดโรคซับซ้อน   ทางด้านหัวใจมากขึ้นเช่นกัน ทำให้การรักษาโรคหัวใจในปัจจุบัน ต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์ รวมถึงเทคโนโลยีอันทันสมัยเพื่อช่วยให้การวินิจฉัยอย่างแม่นยำและการผ่าตัดรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ทางเลือกใหม่ที่สะดวกปลอดภัย ฟื้นตัวได้ไวสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติในเวลาอันใกล้ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอัตราการอดชีวิตสูงขึ้น ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยโรคหัวใจยอดฮิตอย่างโรคเส้นเลือดแดงโป่งพอง และผู้ป่วยที่จำเป็นต้องการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ  ทั้ง 2 อาการนี้สามารถรักษาได้ หากได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

นพ.ทวีศักดิ์   โชติวัฒนพงษ์ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก รพ.หัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า โรคลิ้นหัวใจรั่ว เป็นโรคที่พบมากในอายุ 40  ปีขึ้นไป ปัจจุบันเสี่ยงมาจากการติดเชื้อ เกิดภูมิต้านทานผิดปกติ  การเสื่อมสภาพของหัวใจเมื่ออายุมากขึ้น หรือบางรายเกิดจากภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ  จนกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์  ด้วยอาการหอบ เหนื่อย ไม่มีแรง หน้ามืดเป็นลมบ่อยๆ  อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ เนื่องจากลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพ กรอบ แข็ง ความยืดหยุ่นน้อย และมีไขมันหินปูน เกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจเปิดหรือปิดไม่สนิท ส่วนใหญ่ลิ้นที่มีปัญหา คือ  Mitral Valve/Aortic Valve  ซึ่งเป็นลิ้นหัวใจฝั่งซ้าย ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ มีบางครั้งพบในเด็ก แพทย์จะทาการวินิจฉัยและเลือกแนวทางการรักษา ในบางรายไม่จำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่เปิดหน้าอก  เพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แต่สามารถผ่าตัดแบบแผลเล็กที่มีความแม่นยำและปลอดภัยได้ ทำให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนก็น้อยลง ในรายที่ลิ้นหัวใจ Rheumatic ลิ้นหัวใจแข็ง มีการตีบ การรั่ว เกิดจากแคลเซียมไปเกาะตัวที่ลิ้นหัวใจทำให้เป็นพังพืด วิธีการซ่อมลิ้น  สามารถทำโดยการลอกแคลเซียมที่จับตัวออก และหาเนื้อเยื่ออื่นมาซ่อมแทน เพื่อให้ลิ้นหัวใจทำงานได้ใกล้เคียงปกติ หรือเหมือนเดิม แต่ในกรณี Degenerative ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพตามวัย เช่น เอ็นยึด ลิ้นหัวใจที่ยืด หรือขาด ลิ้นหัวใจรั่ว จำเป็นต้องใช้เทคนิค  หรือวิธีการผ่าตัดมาซ่อมแก้ไขให้กับมาทำงานได้ ตามเดิม “ด้วยเทคนิคการรักษาที่มีมาตรฐานและทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้การผ่าตัด ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจส่วนใหญ่ทำให้คนไข้อาการดีขึ้น เหนื่อยน้อยลง ละผลระยะยาวจะดีกว่าการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เนื่องจากไม่ต้องกังวลกับภาวะแทรกซ้อนจากการกินยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด

นพ.วิฑูรย์  ปิติเกื้อกูล  รองผู้อำนวยการศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก รพ.หัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด  พบได้บ่อย คือ โรคหลอดเลือดแดใหญ่โป่งพอง เกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่เออร์ต้า (Aorta) เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ออกมาจากขั้วหัวใจทอดยาวจากช่องอกสู่ช่องท้องและให้แขนงเป็นหลอดเลือด  ที่นำเลือดแดงไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆ ในร่างกายหลายแห่ง โรคหรือภาวะบางอย่างอาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้ามีความอ่อนแอ เกิดการโป่งพองขยายขนาดจนใหญ่กว่าปกติขึ้น (Aneurysm) ซึ่งเมื่อมีการโป่งขยายจนถึงระดับหนึ่งก็จะแตกทำให้เสียเลือดจำนวนมากกะทันหัน  จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต
ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ปัจจุบันการวินิจฉัยจนไปถึงกรผ่าตัดทำได้รวดเร็ว
ด้วยทีมแพทย์ผ่าตัดที่มีความเชี่ยวชาญ  ช่วยเสริมประสิทธิภาพและความแม่นยำของการรักษาที่ต้องผ่าตัดในระยะเวลานาน

โรคเส้นเลือดแดงโป่งพองมักไม่มีอาการนำมาก่อน  ดังนั้นผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการที่หนักแล้ว การวินิจฉัยและการรักษาจึงต้องทำอย่างทันท่วงที การตรวจสุขภาพ เอ็กซเรย์ หรืออัลตราซาวด์ การตรวจคัดกรองถือว่ามีประโยชน์มากในการช่วยวางแผนการักษาและการป้องกัน ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดทั้งร่ายกาย ได้แก่ การตรวจ ABI เพื่อดูสภาพเส้นเลือดที่ขา,การตรวจ Carotid dropper เพื่อดูเส้นเลือดแดงบริเวณที่คอที่ไปเลี้ยงสมอง,การตรวจ Aneurysm Screening เพื่อดูเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าโป่งพองขึ้นกับความเสี่ยงในการแตกสูง เช่น ปวดท้อง หรือเจ็บหน้าอก หรือมีอาการจากการที่หลอดเลือดเอออร์ต้ากดเบียดอวัยวะข้างเคียง ก็นับเป็นข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเช่นเดียวกัน ถ้าหลอดเลือดเอออร์ต้ายังมีขนาดไม่ใหญ่ถึงขั้นที่จะต้องผ่าตัดก็แนะนำให้ตรวจติดตามต่อร่วมกับให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อลดแรงดันเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด

สำหรับกาผ่าตัดเปิด (Open Repair) หรือใส่โครงลวดเพื่อรักษาหลอดแดงใหญ่ผิดปกติ (ConventionalSurgery) รพ.หัวใจกรุงเทพ มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย เครื่องมือในการรักษาต่างๆ  อาทิ  FMS   (Fluid Management Systim) เครื่องให้เลือด และน้ำเกลือ ด้วยความเร็วสูงพร้อมใช้ในกรณีที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือดแดงใหญ่ และ  เสียเลือดจำนวนมาก Cell Saver  เป็นเครื่องมือที่นำเลือดผู้ป่วย นำกลับมาให้เพื่อลดการให้เลือดจากแหล่งอื่น ๆ ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือดจากแหล่งอื่น ๆ รวมไปถึงห้องผ่าตัด Hybrid Operation Room ห้องผ่าตัดเทคโนโลยีสูง ที่สามารถผ่าตัดและฉีดสีได้ไปพร้อม ๆกัน เพื่อความแม่นยำในการใส่ขดลวดค้ำยัน  ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ฯลฯ


นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก เชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัด  โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง  รพ.หัวใจกรุงเทพ   กล่าวเสริมว่า เทคโนโลยีการผ่าตัดในปัจจุบันทำได้ดีขึ้นนอนกจากการผ่าตัดเปิดเพื่อเย็บ (Endovascular Aortic Aneurysm Repair หรือ EVAR)  คือเหมาะสมกับผู้ป่วยกลุ่มที่อายุมาก มีปัจจัยเสี่ยงสูง โดยวิธีการนี้ภาวะแทรกซ้อนจะน้อยกว่าการผ่าตัดใหญ่เพื่อซ้อมหลอดเลือดโป่งพอง ซึ่งการผ่าตัดแผลเล็กนั้น จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลต่ำ อย่างไรก็ตาม การดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

พญ.ปราณิศา เหลืองรัศมีรุ่ง  แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ รพ.หัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า  การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจ  จะส่งผลดีต่อสมรรถภาพร่างกายที่ดีช่วยลดอาการต่าง ๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงช่วยป้องกันและควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของรับดับไขมันในเลือด เพิ่มความสามารถการละลายลิ่มเลือดและปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด ทำให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น มีสภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วย ปัจจุบันการการบริหารร่างกายป้องกันโรคหัวใจ (Primary Prevention)  ถูกนำมาใช้มากขึ้น  ในช่วงทำกายภาพหลังผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็ว และป้องกันการกลับมาของโรคหัวใจได้อีกครั้ง การทำกายภาพ   จะแตกต่างไปตามลักษณะของผู้ป่วย และประเภทของโรคหัวใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์เป็นหลัก

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมุ่งเน้นในการรักษา คือ การเพิ่มความปลอดภัยในการผ่าตัด รักษา ดูแลด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  และเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด มีเครือข่ายโรงพยาบาลครอบคลุมทั่วประเทศ สามารถให้คำปรึกษา หรือทำการผ่าตัด  ให้ได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังมีแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญในการฝึกอบรมให้ความรู้แก่แพทย์ด้วยกันอีกด้วย ถือได้ว่าเป็นการให้บริการด้านโรคหัวใจในทุกด้าน ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับ
ไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง

 

ความไว้วางใจของคุณ คือ กำลังใจของเรา
รพ.หัวใจกรุงเทพ  
เลขที่ 2 ซ.ศูนย์วิจัย 7 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ
กรุงเทพมหานคร 10310

Highlights info row image
โทร. : 02 310 3000 หรือ 1719

E-mail : HEART@BANGKOKHOSPITAL.COM