Category Archives: ข่าวสังคม

ครบรอบ 19 ปี ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ เปิด ศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านนวัตกรรมฮาลาล

ถ่ายทอดความรู้จากรั้วมหาวิทยาลัยสู่ชุมชม เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตอย่างยั่งยืน “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ผู้นำในด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล พัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งสร้างผลงานที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับสู่สังคม มีนโยบายที่จะขยายขอบเขตสู่การบริการภาคชุมชนและงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างนวัตกรรมและสร้างธุรกิจฐานรากในชุมชน จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านนวัตกรรมฮาลาล” หวังนำองค์ความรู้จากรั้วมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานมูลนิธิมุฮัมมะดียะฮฺ กล่าวถึง วาระครบรอบ 19 ปีของการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยแนวนโยบายของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะขยายขอบเขตงานสู่การบริการภาคชุมชนและงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างนวัตกรรม สร้างธุรกิจฐานรากในชุมชน แลในวันครบรอบการจัดตั้งศูนย์ฯ ในวันที่ 13 สิงหาคม 2565 นี้ ทางศูนย์ฯ ได้จัดกิจกรรม “เดิน-วิ่ง HALAL SCI FUN RUN 2022” พร้อมพิธีเปิด “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านนวัตกรรมฮาลาล” และพิธีเปิดอาคาร “เอร์ฟาน-ยุพา ดะห์ลัน” อย่างเป็นทางการ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์พื้นที่ในการดำเนินงาน จากมูลนิธิมุฮัมมะดียะฮฺ ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 89 หมู่ 4 ตำบลชุมพล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และยังได้รับเกียรติจาก นายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก และศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นประธาน

จากโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรด้วยการแปรรูป รวมถึงการปรับเปลี่ยนสินค้าเกษตรไปสู่การผลิตอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ศูนย์ฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีการเกษตรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่เป็นที่ต้องการของตลาดจากวัตถุดิบทางการเกษตรและพืชในท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แพลนต์เบส ดังนั้นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมฮาลาลสามารถช่วยในการเพิ่มมูลค่าผลิตทางการเกษตรได้

“ศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านนวัตกรรมฮาลาล” (Halal Innovation Community Learning Center) เป็นการร่วมมือกันระหว่าง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มูลนิธิมุฮัมมะดียะฮฺ ซึ่งมีนโยบายร่วมกันที่จะสร้างศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้จากรั้วมหาวิทยาลัยสู่ภาคชุมชน เป็นการต่อยอดภาคทฤษฏีสู่ภาคปฏิบัติ เน้นพัฒนาธุรกิจฮาลาลเพื่อเป็นโอกาสในการขยายตลาดของประเทศไทย และเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงเป็นศูนย์ฝึกในการพัฒนานวัตกรรมฮาลาลในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบการเกษตร งานพัฒนาผลิตภัณฑ์คอสเมติก เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นส่วนช่วยในการให้ความรู้กับประชาชนสู่ชุมชนในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังมีแผนงานที่ร่วมกับมูลนิธิมุฮัมมะดียะฮฺ เพื่อทำโรงเรียนสอนคิด (Thinking School) ให้กับเยาวชนในชุมชน เพื่อสร้างรากฐานกระบวนการคิดที่เป็นระบบ การสอนเพื่อให้เกิดการตั้งคำถาม เพื่อสร้างคนคุณภาพสู่สังคมต่อไป
รศ.ดร.วินัย กล่าวปิดท้าย

“ตามรอยพ่อฯ” แจงผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตลอด 9 ปี สร้างการรับรู้ดีเกินคาด
ก่อให้เกิดการตื่นตัวทุกวงการ ย้ำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น แก้วิกฤตได้อย่างยั่งยืน


เครือข่ายคนมีใจทั้งในและนอกลุ่มน้ำป่าสักเข้าร่วมงานพร้อมออกร้านผลผลิต ณ สวนล้อมศรีรินทร์ พื้นที่ร่วมโครงการปีแรก
โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) จัดงานสรุปผลความสำเร็จหลังดำเนินงานมาครบ 9 ปี โดยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 – 2564 และมีผลการดำเนินงานดีเกินคาด ทั้งด้านการสร้างคนมีใจ เครือข่าย และศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย และกิจกรรมเอามื้อสามัคคีหรือการลงแขกในพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จนั้นได้รับความสนใจจากประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างมาก ทำให้แนวคิดในการนำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นไปลงมือปฏิบัติแผ่ขยายแตกตัวไปทั่วทั้ง 22 ลุ่มน้ำในประเทศ เกิดการรับรู้และกระแสความตื่นตัวที่ทำให้ทุกภาคส่วนลุกขึ้นมาขับเคลื่อนพร้อมกัน รวมถึงเกิดแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนเชิงนโยบาย

ทั้งนี้ งานสรุปผลดังกล่าวจัดขึ้น ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนล้อมศรีรินทร์ จ.สระบุรี พื้นที่ของคนมีใจที่ร่วมกิจกรรมโครงการตั้งแต่ปีแรก โดยเครือข่ายจากทั้งในและนอกลุ่มน้ำป่าสักเข้าร่วมงานและนำผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปร่วมออกร้าน พร้อมจัดกิจกรรมอบรมหลักการออกแบบโคก หนอง นา และฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้ ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ 9 คน 9 ปี ขึ้นเวทีร่วมเสวนา เพื่อยืนยันว่าศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้วิกฤตได้จริง พร้อมตอกย้ำความมุ่งมั่นในการส่งต่อองค์ความรู้และแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่ต่อไป

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า “จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ที่ทรงแสดงความห่วงใยต่อปัญหาภัยแล้งและปัญหาอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2556 ด้วยความร่วมมือระหว่าง บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และ 7 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาคศาสนา และสื่อมวลชน โดยได้น้อมนำองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่สู่การปฏิบัติ เป้าหมายเพื่อหยุดท่วม หยุดแล้งในลุ่มน้ำป่าสักอย่างยั่งยืน จนสามารถสร้างรูปธรรมตัวอย่างความสำเร็จและการขยายผลครอบคลุม 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ โดยการดำเนินงานเริ่มจากการสร้างพื้นที่ต้นแบบ รวมทั้งบุคคล ชุมชน และโรงเรียนต้นแบบ แล้วจึงขยายผลออกไปสู่ลุ่มน้ำอื่น ทั่วประเทศ”
ทั้งนี้ โครงการมีกรอบการดำเนินงาน 9 ปี แบ่งเป็น 3 ระยะ ๆ ละ 3 ปี โดยระยะที่ 1 พ.ศ. 2556 – 2558 คือ ระยะตอกเสาเข็ม เป็นการสร้างการรับรู้ และสร้างตัวอย่างความสำเร็จหลากรูปแบบทั้ง บุคคล ชุมชน โรงเรียน และสร้างศูนย์เรียนรู้ สรุปการดำเนินกิจกรรมในระยะที่ 1 สร้างการรับรู้ด้วยการเดินทางวิ่ง-เดิน-ปั่น กว่า 900 กิโลเมตร ในพื้นที่ 5 จังหวัด มีอาสาสมัครและคนมีใจร่วมกิจกรรมกว่า 8,000 คน
• ปีที่ 1 พ.ศ. 2556 เป็นกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่นรณรงค์ ”จากปลายน้ำสู่กลางน้ำ สร้างหลุมขนมครกในแบบโคก หนอง นา โมเดล หยุดท่วมหยุดแล้งอย่างยั่งยืน” จากกรุงเทพฯ ถึง จ.พระนครศรีอยุธยาและ จ.สระบุรี
• ปีที่ 2 พ.ศ. 2557 กิจกรรม ”สร้างหลุมขนมครก เปลี่ยนเขาหัวโล้นเป็นเขาหัวจุก” ที่ จ.เพชรบูรณ์
• ปีที่ 3 พ.ศ. 2558 กิจกรรม ”สร้างหลุมขนมครก ในแบบของคุณ” ที่ จ.ลพบุรีและ จ.เพชรบูรณ์
กรอบการดำเนินงานในระยะที่ 2 พ.ศ. 2559 – 2561 คือ ระยะแตกตัว เป้าหมายเป็นการขยายผลในระดับทวีคูณ สร้างคน สร้างครู สร้างเครื่องมือในการยกระดับศูนย์เรียนรู้สู่การศึกษาตลอดชีวิต (บ้าน วัด โรงเรียน หรือ บวร) สรุปการดำเนินกิจกรรมในระยะที่ 2 สร้างพื้นที่ต้นแบบ 8 แห่งใน 8 จังหวัด สร้างการมีส่วนร่วมของคนมีใจที่ร่วมกิจกรรมกว่า 10,000 คน และเกิดศูนย์การเรียนรู้ 11 แห่งใน 7 จังหวัด
• ปีที่ 4 พ.ศ. 2559 คือ การสร้างหลุมขนมครก ”ป่าสักโมเดล” ในพื้นที่ “ห้วยกระแทก” ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จ.ลพบุรี ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ ซึ่งเป็นหลุมขนมครกขนาดพื้นที่ 600 ไร่ และเป็นหลุมขนมครกที่ใหญ่ที่สุดที่เกิดจากการรณรงค์ของโครงการ
• ปีที่ 5 พ.ศ. 2560 ”แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” ในสภาพภูมิสังคมที่แตกต่าง โดยร่วมสร้าง ”เพลิน area” ที่แปลงเกษตรสาธิต คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร, สร้างพื้นที่เรียนรู้ตามรอยศาสตร์พระราชาที่ไร่สุขกลางใจ จ.ราชบุรี, สร้างต้นแบบจากชาวบ้านสู่ความร่วมมือ 7 ภาคี ด้วยพลังเอามื้อสามัคคี โดยการรวมกลุ่มของชาวบ้านคริสตจักรนาเรียง จ.อุดรธานี และสร้างพื้นที่ต้นแบบหลุมขนมครกบนพื้นที่สูง “คนอยู่ ป่ายัง อย่างยั่งยืน” ที่ห้วยป่ากล้วย และศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ (บวร.) วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
• ปีที่ 6 พ.ศ. 2561 “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี“ จากลุ่มน้ำป่าสักสู่ลุ่มน้ำอื่น ๆ สร้างศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชากลางเมืองหลวง ที่ฐานธรรมพระรามเก้า กรุงเทพมหานคร สร้างหลุมขนมครกและเรียนรู้การทำสวนเกษตรอินทรีย์ ที่ จ.จันทบุรี ร่วมสร้าง “หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ชุมชนกสิกรรมวิถี” จ.สระบุรี และร่วมสร้างพื้นที่เรียนรู้ หลุมขนมครกบนพื้นที่สูง เปลี่ยนผู้บุกรุกมาเป็นผู้พิทักษ์ ที่ จ.น่าน
สุดท้ายกรอบการดำเนินงานในระยะที่ 3 พ.ศ. 2562 – 2564 คือ การขยายผลเชื่อมโยงทั้งระบบ เป้าหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย มี 7 ภาคีระดับชาติเข้าร่วม ได้แก่ ภาครัฐ วิชาการ เอกชน ประชาสังคม ประชาชน ศาสนา และสื่อมวลชน เพื่อยกระดับสู่การแข่งขัน วางรากฐานการพัฒนามนุษย์ การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำ เชื่อมโยงทั้ง 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ
• ปีที่ 7 พ.ศ. 2562 จัดกิจกรรมขึ้นภายใต้แนวคิด “แตกตัวทั่วไทย สานพลังสามัคคี” จากต้นน้ำป่าสักสู่การสร้างแม่ทัพแห่งลุ่มน้ำ โดยจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีที่ จ.เลย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำป่าสัก และกิจกรรมทัศนศึกษาที่ จ.ลำปาง เป็นพื้นที่ที่เชฟรอนประเทศไทยร่วมกับศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาประเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดทำโครงการวิจัย “การออกแบบเชิงภูมิสังคมไทย การติดตามและประเมินผลเพื่อบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างมีส่วนร่วม” เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่ได้มีการออกแบบและปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ไปแล้ว ให้เป็นระบบและได้มาตรฐานทางวิชาการ โดยนำผลสรุปจากโครงการวิจัยมาประมวลผลในมิติต่าง ๆ ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม และมิติทางสภาพแวดล้อม
• ปีที่ 8 พ.ศ. 2563 “แตกตัวทั่วไทย สานพลังสามัคคี” จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีเพื่อฟื้นฟูและปกป้องพื้นที่ป่าต้นน้ำแจ่ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำปิง จ.เชียงใหม่ กิจกรรม “สู้ทุกวิกฤต รอดพอดีด้วยศาสตร์พระราชา” การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการป้องกัน เตือนภัย และฟื้นฟูชุมชนในภาวะวิกฤต หรือ CMS (Crisis Management Survival Camp) เพื่อสร้างความรู้ความตระหนักแก่ประชาชนในการเตรียมความพร้อมรับมือกับน้ำท่วม น้ำแล้ง โรคระบาด และสถานการณ์ฉุกเฉิน ณ ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาคืนป่าสัก โรงเรียนสงครามพิเศษ และศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (วัดใหม่เอราวัณ) จ.ลพบุรี และสร้าง “โคก หนอง นา ชัยภูมิโมเดล” ที่ศูนย์ปราชญ์ศาสตร์พอเพียง บอกเล่าก้าวตาม จ.ชัยภูมิ
• ปีที่ 9 พ.ศ. 2564 “9 ปีแห่งพลังสามัคคี ฟันฝ่าทุกวิกฤต สู่ทางรอดที่ยั่งยืน” มีทั้งแคมเปญ “รวมพลังสู้โควิด-19” กิจกรรมช่วยน้ำท่วมที่ จ.สระบุรี และกิจกรรมเอามื้อสามัคคีแปลง “เสงี่ยมคำกสิกรรมวิถี” ที่ จ.นครราชสีมา และแปลง “โคกหนองนา โปรดปัน” จ.พระนครศรีอยุธยา รวมถึงการสร้างแหล่งความรู้และเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทยที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล
สรุปผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการตามรอยพ่อฯ 9 ปี ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนได้ดังนี้
• การ “สร้างคน” มีผู้เข้าอบรมและดูงานในศูนย์ฯ ของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติตลอดระยะเวลาของการดำเนินงานโครงการ พื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำป่าสัก 489,984 คน พื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำอื่น ๆ 826,280 คน รวมทั้งสิ้น 1,316,264 คน
• การ “สร้างครู” สร้างวิทยากร และครูพาทำในเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ในลุ่มน้ำป่าสักรวม 124 คน นอกลุ่มน้ำป่าสัก 9 คน รวมทั้งสิ้น 133 คน
• การ “สร้างศูนย์เรียนรู้” มีศูนย์เรียนรู้ที่เกิดจากโครงการ 11 แห่ง อยู่ในลุ่มน้ำป่าสัก 8 แห่ง และนอกลุ่มน้ำ ป่าสัก 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาคืนป่าสัก จ.ลพบุรี, ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (ห้วยกระแทก) “ป่าสักโมเดล” จ.ลพบุรี, บ้านพึ่งพาตนเอง “ฟากนา ฟาร์มสเตย์” จ.เลย, ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนล้อมศรีรินทร์ จ.สระบุรี, ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ค่ายอดิศร จ.สระบุรี, ศูนย์การเรียนรู้โคกหนองนาโมเดล หรือ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงพึ่งตนเองเอาชนะยาเสพติด จ.สระบุรี, ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ค่ายพ่อขุนผาเมือง จ.เพชรบูรณ์, ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ วัดใหม่เอราวัณ จ.ลพบุรี, ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านพะกอยวา จ.ตาก, ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง จ.อุดรธานี, และศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสุรินทร์ จ.สุรินทร์
ทั้งนี้ ศูนย์เรียนรู้ดูงานทั้งหมดของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติทั่วประเทศมีอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก 12 แห่ง และพื้นที่ลุ่มน้ำอื่น ๆ 58 แห่ง รวม 70 แห่ง

https://www.youtube.com/watch?v=M8EWjY1ncGk

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร กล่าวเสริมว่า “จะเห็นได้ว่าการดำเนินโครงการประสบผลสำเร็จอย่างดีทั้งในแง่ปริมาณในการสร้างคน สร้างครู สร้างศูนย์เรียนรู้ ส่วนสัมฤทธิผลในเชิงคุณภาพนั้นได้ผลดีเกินคาด การแตกตัวขยายผลครอบคลุมลุ่มน้ำทั่วประเทศ สร้างแรงกระเพื่อมที่ทำให้ทุกภาคส่วนลุกขึ้นมาขับเคลื่อนพร้อมกันจนเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย เริ่มจากการสั่งการจากผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นให้ดำเนินการอบรมให้ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ ภายในหน่วยทหาร และยังมีโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ ‘โคก หนอง นา โมเดล’ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ และโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอดตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ‘โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง’ ของกระทรวงศึกษาธิการอีกด้วย

“จากการดำเนินอย่างต่อเนื่อง 9 ปีของโครงการ ‘ตามรอยพ่อฯ’ ได้พิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การนำศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มาประยุกต์ใช้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเหมาะสม จะสามารถแก้ปัญหาทุกวิกฤตได้อย่างยั่งยืน” ดร.วิวัฒน์กล่าวสรุป

นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวถึงการสรุปผลความสำเร็จว่า “เชฟรอนประเทศไทยได้ร่วมจัดทำโครงการมาตลอดระยะเวลา 9 ปี โดยที่ผ่านมาเราได้เห็นผลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพว่าโครงการได้เข้าไปช่วยในการให้ความรู้ สร้างตัวอย่าง และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนเป็นล้าน ๆ ทั่วประเทศ ทั้งในด้านการอนุรักษ์และอยู่ร่วมกับป่า การนำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้เพื่อการพึ่งพาตนเองได้ และยังสร้างแหล่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ทั้งผ่านการสร้างศูนย์เรียนรู้ 11 แห่งใน 7 จังหวัด รวมถึงการสร้างศูนย์กลางการแบ่งปันความรู้แบบออนไลน์แก่ผู้ที่สนใจ

โดยเราได้สร้างเนื้อหาในสื่อออนไลน์มากมายที่เป็นประโยชน์ อาทิ การจัดทำบทเรียน ‘คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ’ ในรูปแบบบทความและวีดิทัศน์บอกเล่าเนื้อหาเกี่ยวกับศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครอบคลุมทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ รวม 14 บท เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำองค์ความรู้ไปลงมือทำเองได้ และยังได้สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้ติดตามกว่า 246,900 คน


เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับโครงการด้วยช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ทั้งเวบไซต์ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และไลน์
“พนักงานของเชฟรอนประเทศไทยเองกว่า 2 พันคน ก็ได้เข้าร่วมอบรมเรียนรู้ และร่วมกิจกรรมเอามื้อของโครงการอย่างต่อเนื่อง มีหลายคนที่นำองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาไปลงมือทำที่บ้านเกิดเมื่อเกษียณจากการทำงานประจำ นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งสำหรับองค์กรและพนักงานเชฟรอนที่ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการน้อมนำองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาและเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มารณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้แก่ประชาชนทั่วไป จนเกิดแรงบันดาลใจนำไปลงมือปฏิบัติ และได้ร่วมผลักดันขับเคลื่อนจนเกิดเป็นแรงกระเพื่อมอย่างมากมายในสังคมไทย” นายอาทิตย์กล่าวสรุป


นอกจากนี้ มาตรวัดความสำเร็จในเชิงคุณภาพที่สำคัญอีกประการ คือ การสร้างคนมีใจที่ตอบโจทย์ “ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง” ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน คือ การมีความรู้คู่คุณธรรมและการใช้ชีวิตอย่างพอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น และระดับเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า คือ บุญ, ทาน มีเหลือกินเหลือใช้ก็แบ่งปัน, เก็บ รักษาเคล็ดลับวิชาภูมิปัญญา, ขาย, ข่าย (กองกำลังเกษตรโยธิน) ซึ่งเกิดเป็นตัวอย่างบุคคลผู้ประสบความสำเร็จตาม “ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง” ที่มานะบากบั่นลงมือทำจนทำให้หยุดท่วมหยุดแล้งในพื้นที่ของตัวเอง เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ หลุดพ้นจากความยากจน และรอดจากวิกฤตด้วยศาสตร์พระราชา ได้แก่ พิรัลรัตน์ สุขแพทย์ (ผู้ใหญ่อ้อย) ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาคืนป่าสัก จ.ลพบุรี, แสวง ศรีธรรมบุตร (ลุงแสวง) ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง จ.อุดรธานี, กรองกาญจน์ ศิราไพบูลย์พร (ต๋อย), และประวีณ ศิราไพบูลย์พร (ติ่ง) 2 พี่น้องชาวปกาเกอะญอ แห่งไร่ไฮ่เฮา ไร่ติ่งตะวัน จ.ลำปาง เป็นต้น


ทั้งนี้ งานสรุปผลจัดขึ้น ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนล้อมศรีรินทร์ จ.สระบุรี พื้นที่ของนายบุญล้อม เต้าแก้ว ที่ร่วมกิจกรรมโครงการตั้งแต่ปีแรก โดยนอกจากการออกร้านของเครือข่าย ยังมีกิจกรรมฝึกอบรมหลักการออกแบบโคก หนอง นา เบื้องต้น และฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน ได้แก่ ฐานคนมีน้ำยา สอนทำน้ำยาอเนกประสงค์ แชมพู, ฐานคนรักษ์แม่ธรณี สอนทำปุ๋ยแห้ง ปุ๋ยน้ำ, ฐานเพาะเห็ดตะกร้า, ฐานเพาะผัก นอกจากนี้ ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ 9 คน 9 ปี ขึ้นเวทีร่วมเสวนา เพื่อยืนยันว่าศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ปัญหาทุกวิกฤตได้จริง โดยแต่ละท่านได้กล่าวถึงเปลี่ยนแปลง หลังจากร่วมโครงการ รวมทั้งความตั้งใจสานต่อองค์ความรู้ศาสตร์พระราชา ดังนี้

ศิลา ม่วงงาม (ครูศิลา) ประธานศูนย์เรียนรู้ชุมชน บ้านหินโง่น อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 2 กล่าวว่า “จากเดิมที่มีการทำเกษตรแบบโคก หนอง นา แค่ 2 ราย ปัจจุบันมีคนทำเพิ่มขึ้นมากถึง 3-4 เท่าตัว สมัยก่อนเส้นทางระหว่างบ้านหินโง่นถึงบ้านสักง่า ระยะทาง 8 กิโลเมตรจะเต็มไปด้วยไร่ข้าวโพด แต่ปัจจุบันมีไม้ผลขึ้นเต็ม 2 ข้างทาง เช่น ทุเรียน เงาะ ส้มโอ เป็นต้น และชาวบ้านยังปลูกไม้ยืนต้นมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2558 ผมได้จัดกิจกรรมทำฝายชะลอน้ำ 89 สายถวายพ่อ ที่ห้วยส้านซึ่งเป็นลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้านหินโง่น แล้วไหลลงแม่น้ำป่าสัก ซึ่งตอนนี้ห้วยนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ดีมากเลย ผมมีความตั้งใจจะสืบสานศาสตร์พระราชาต่อไป เพราะได้เห็นประจักษ์แล้วว่า ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถแก้ปัญหาทุกวิกฤตได้อย่างยั่งยืน”


พิรัลรัตน์ สุขแพทย์ (ผู้ใหญ่อ้อย) ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาคืนป่าสัก ผู้ใหญ่บ้านชุมชนหมู่ 8 สามัคคี อ.เมือง จ.ลพบุรี ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 3 กล่าวว่า “รู้สึกภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ เพราะการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องและการสนับสนุนอย่างจริงจังของโครงการ ทำให้การแตกตัวในการเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมาก ในการสืบสานศาสตร์พระราชาเรายังทำอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการรวบรวมเครือข่ายคนมีใจขับเคลื่อนเป็นระดับภาค และระดับประเทศต่อไป โดยจะทำแบบใกล้ชิดกว่าเดิม มีการประชุมวางแผนงานบ่อยขึ้น มีการลงพื้นที่ให้กำลังใจพี่น้องมากขึ้น มีการจัดทัพแบบกระชับองค์กร เพื่อเข้าถึงปัญหาและแก้ไขในทุกจุดอย่างรวดเร็ว มีการดึงคนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยทำงานมากขึ้น เราจะสืบสานต่อไปให้รุ่น 2 รุ่น 3 เหมือนที่อาจารย์ยักษ์วางไว้ค่ะ”


บัณฑิต ฉิมชาติ (หัวหน้าฉิม) หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่าน อ.เวียงสา จ.น่าน ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 6 กล่าวว่า “ตอนนี้ชาวบ้านมีข้าวกินทั้งหมู่บ้าน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผมกลายป็นเทวดาของชาวบ้านไปแล้ว ทุกครั้งที่เจอผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะเข้ามากอด ผมดีใจและตื้นตันใจมากครับที่ช่วยแก้ปัญหาปากท้องให้พวกเขาได้ ชาวบ้านลดการปลูกข้าวโพดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ได้รับพื้นที่ป่าของอุทยานคืนมา 3,000 กว่าไร่ในเวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก เมื่อก่อนชาวบ้านต้องเตรียมเงินไว้ปีละประมาณ 5,000 บาท เพื่อซื้อข้าวกิน แต่ปัจจุบันพื้นที่ทำกิน 3-5 ไร่ของพวกเขาก็สามารถหล่อเลี้ยงครอบครัวได้ มีข้าว มีปลา มีผักกิน ไม่ต้องเสียไปเงินซื้อ ชาวบ้านพึ่งพาตัวเองได้ เมื่อก่อนชาวบ้านต้องซื้อข้าวหัก ๆ กิน เดี๋ยวนี้ชาวบ้านปลูกข้าวพันธุ์ภูฟ้าซึ่งเป็นข้าวขาวที่สวยมากไว้กินเอง เหลือก็แบ่งปันกันในชุมชน ชาวบ้านหลุดพ้นจากความยากจนอดอยาก”


กรองกาญจน์ ศิราไพบูลย์พร (ต๋อย) เจ้าของพื้นที่ “ไร่ไฮ่เฮา” อ.งาว จ.ลำปางตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 7 กล่าวว่า “ปัจจุบันพื้นที่บ้านแม่ฮ่าง จ.ลำปาง มีครัวเรือนที่หันมาทำโคก หนอง นา บนพื้นที่สูงเพิ่มขึ้นเป็น 30 กว่าแปลง ทำกันจริงจังมาก มีการเวียนกันเอามื้อทุก ๆ สัปดาห์อย่างต่อเนื่อง มีการทำแท็งก์น้ำในแต่ละจุดของแต่ละแปลง เพราะเป็นพื้นที่สูงการจัดการน้ำยาก ทุกแปลงจึงจำเป็นต้องมีแท็งก์น้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อการเกษตร และตอนนี้ขยับมาทำพื้นที่ที่สุโขทัยด้วย ซึ่งจะเป็นการขยายผลสู่ลุ่มน้ำยม มีพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการตามรอยพ่อฯ ที่สร้างประโยชน์มาก มีการประชาสัมพันธ์และทำให้คนได้รับรู้ข้อมูล ข่าวสาร และคนที่สนใจสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญ คือ การได้เครือข่ายที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เป็นแรงเสริมเป็นกำลังใจให้กันและกัน ส่วนตัวแล้วก็จะยังสืบสานงานของพ่อต่อไป ทั้งที่เป็นพื้นที่ของตัวเองและการร่วมเป็นเครือข่ายสนับสนุนและส่งต่อองค์ความรู้ศาสตร์พระราชา เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ลงมือทำตามต่อไปเรื่อย ๆ ค่ะ”


ปราณี ชัยทวีพรสุข ประธานกรรมการศูนย์ปราชญ์ศาสตร์พอเพียง บอกเล่าก้าวตาม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ เจ้าของ “สวนฝันสานสุข” บ้านเสี้ยวน้อยพัฒนา อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 8 กล่าวว่า “หลังจากโครงการมาจัดกิจกรรมเอามื้อที่ศูนย์ปราชญ์ฯ ทำให้ปราชญ์ชาวบ้านในชัยภูมิเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายมากขึ้น จึงมีการค้นหาแกนนำที่เป็นจุดแข็งของแต่ละอำเภอ เพื่อเรียกคนที่มีใจเดียวกันมาร่วมขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งทีมใหญ่และทีมเล็ก โดยที่ศูนย์ปราชญ์ฯ เองมีการวางแผนเอามื้อเดือนละครั้ง เครือข่ายก็จะไปปันแรงกัน ก่อนโควิด-19 ระบาดมีการจัดอบรมและดูงานอยู่เรื่อย ๆ รวมแล้วฝึกอบรมไปประมาณ 6 รุ่น จำนวน 500 กว่าคน ในช่วงโควิด-19 ระบาดได้ไปเป็นจิตอาสาทำหน้าที่พยาบาลสนาม ฉีดวัคซีน เลยถือโอกาสรวมพลังหมอศูนย์บาทของชัยภูมิ ต้มน้ำสมุนไพร 7 นางฟ้า สมุนไพรสุมยา แจกคนป่วยที่โรงพยาบาลสนามและที่ศูนย์สุขภาพชุมชน ตั้งใจจะสืบสานศาสตร์พระราชาต่อไป เพื่อพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าศาสตร์พระราชาแก้ปัญหาได้ทุกวิกฤตจริง พื้นที่ของตัวเองมี 18 ไร่ ทำโคก หนอง นา ไว้นานแล้ว มีต้นไม้เยอะ มีน้ำเหลือเฟือ ลูกชายเป็นคนรุ่นใหม่เคยบ่นว่าแม่อายุเยอะแล้วกลับมาเหนื่อยอะไรตรงนี้ แต่ต่อมาหลังจากเห็นความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่แม่ทำ ก็มากระซิบให้แม่ทำต่อไป ขอทำงานเก็บเงินซักพัก แล้วจะกลับมาสานต่อ ฟังแล้วชื่นใจมากเลยที่คนรุ่นใหม่เริ่มเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำค่ะ”


สุณิตา เหวนอก (นวล) เจ้าของพื้นที่เสงี่ยมคำกสิกรรมวิถี อ.จักราช จ.นครราชสีมา ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 9 พ.ศ. กล่าวว่า “นวลเป็นคนบ้างานบ้าเรียน เวลาที่เหลือ คือ อยู่ในสวน เพราะอยากให้เห็นผลของการเปลี่ยนแปลงเร็ว ๆ เนื่องจากที่บ้านยังไม่เห็นด้วยอยู่ นวลจึงใช้วิธีสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ด้วยหวังว่าครอบครัวจะได้เห็นภาพ ซึ่งปรากฏว่าไม่ใช่เพียงครอบครัวที่เห็น แต่เพื่อนในโซเชียลก็ได้เห็นและเกิดแรงบันดาลใจลงมือทำตามกันหลายคน เครือข่ายในพื้นที่ใกล้เคียงก็มีการคุยกันในไลน์ ก็ขอมาดูพื้นที่เรา แล้วเกิดพลังใจกลับไปลงมือทำ เขาบอกว่าขนาดนวลเองเป็นคนมีเวลาน้อย ยังสามารถทำได้เลย รู้สึกภูมิใจที่ความตั้งใจของเรา เป็นแรงบันดาลใจให้อีกหลาย ๆ คน ลุกขึ้นมาทำตาม ในการสืบสานแนวคิดศาสตร์พระราชาจะยังทำอย่างต่อเนื่อง มีความตั้งใจอยากส่งต่อองค์ความรู้ให้เด็ก ๆ ในชุมชน ให้ได้มาเรียนรู้ มาทำกิจกรรมแบบค่อย ๆ ซึมซับ เพื่อเป็นการบ่มเพาะแนวคิดและองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาให้กับคนรุ่นใหม่ด้วยค่ะ ไม่อยากนิยามตัวเองว่าเป็นหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จในการเดินตามรอยพ่อ เพราะคิดว่าคุณสมบัติยังไม่ถึงระดับนั้น แต่อยากจะให้เรียกว่าเป็นหนึ่งตัวอย่างของคนที่มุ่งมั่นตั้งใจทำมากกว่าค่ะ”


ผู้ที่สนใจติดตามชมการสรุปผลการดำเนินโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) ได้ในรายการ “เจาะใจ” วั
นที่ 2,9 เมษายน 2565 ทางช่อง MCOT HD เวลา 21.40 – 22.35 น.

ติดตามเนื้อหาโครงการได้ทาง www.facebook.com/ajourneyinspiredbytheking
ดูรายละเอียดที่ https://ajourneyinspiredbytheking.org

GIT เร่งต่อยอดการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่สากลอย่างยั่งยืน

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติหรือ GIT เปิดเผยว่า GIT เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ผ่านการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบเครื่องประดับไทยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ให้ความสำคัญ และยกระดับนักออกแบบไทยผ่านงานประกวดการออกแบบเครื่องประดับ และเชิญชวนผู้ประกอบการและนักออกแบบเข้าชมงานประกวดการออกแบบเครื่องประดับนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้น ณ ลานไลฟ์-สไตล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอนในวันที่ 27 ตุลาคม 2564 เพื่อเป็นเวทีให้นักออกแบบเครื่องประดับไทยได้แสดงความสามารถสู่นานาชาติ พร้อมมองอนาคตหนุนนักออกแบบไทยให้ก้าวไปยืนบนเวทีโลก

สำหรับการประกวดในครั้งนี้ นักออกแบบที่ชนะเลิศและเข้ารอบสุดท้ายของการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 15 นี้ มีนักออกแบบไทยถึง 3 คน จากผู้ส่งแบบเข้าประกวดจากทั่วโลกกว่า 402ชิ้นงาน จาก 27ประเทศโดยผลงาน 30 ชิ้นที่เข้ารอบจะได้ถูกแสดงแบบวาดในงานประกาศผลชนะเลิศโล่รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระ-ศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารีและผลงานสี่ชุดที่โดดเด่น เป็นของนักออกแบบไทยถึงสามคน โดยได้ผลิตเป็นชิ้นงานจริงพร้อมสวมบนนางแบบและดาราในงานพิธีในครั้งนี้ด้วยโดยรับเกียรติจาก นางนันทวัลย์ ศกุนตนาคประธานกรรมการสถาบันเป็นประธานในพิธี เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำของไทยในเวทีนานาชาติ

โดยปีนี้สถาบันได้รับสนับสนุนการจัดการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งนี้ เป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด บริษัท บิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่ จำกัด บริษัท มาร์เวลจิวเวลรี่ จำกัดบริษัท คาเล็ทต้าจิวเวล-รี่จำกัดบริษัท เทวิกา จิวเวลรี่ จำกัดบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่นจำกัดL.S. Jewelry Group (ห้างเพชรหลีเสง) บริษัทเทรเชอร์ โปรดัก มาร์เก็ตติ้งจำกัด พรีเมียร่า – เอ็กซ์ควิซิทจิวเวลรี่และ บริษัท พญาจิวเวลรี่ จำกัด

โดยปีนี้สถาบันได้รับสนับสนุนการจัดการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งนี้ เป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด บริษัท บิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่ จำกัด บริษัท มาร์เวลจิวเวลรี่ จำกัดบริษัท คาเล็ทต้าจิวเวล-รี่จำกัดบริษัท เทวิกา จิวเวลรี่ จำกัดบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่นจำกัด L.S. Jewelry Group (ห้างเพชรหลีเสง) บริษัทเทรเชอร์ โปรดัก มาร์เก็ตติ้งจำกัด พรีเมียร่า – เอ็กซ์ควิซิทจิวเวลรี่และ บริษัท พญาจิวเวลรี่ จำกัด

นอกจากนี้ สถาบันก็ยังได้นำผลงานที่ผ่านเข้ารอบมาจัดแสดงในรูปแบบของ Art GalleryOnline ที่จะมาถ่ายทอดประสบการณ์และมุมมอง และสร้างแรงบันดาลใจผ่านการออกแบบให้นักออกแบบรุ่นใหม่ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปชมผลงานที่ผ่านเข้ารอบได้ที่ www.facebook.com/gitwjda

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ผู้ที่ได้รับรางวัลต่างๆ มีดังนี้
1.รางวัลชนะเลิศ นาย สุรศักดิ์ มณีเสถียรรัตนา จากประเทศไทย
ผลงาน ความเชื่อในตรีโกณมิติ (Trigonolism) ได้รับเงินสด 4,000 เหรียญสหรัฐ และ โล่พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้า  จุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

2.รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 รางวัล Popular Vote
นางสาว พรนภา เด่นจารุกูล และนางสาว ภัสภา โพธิ์อุบล จากประเทศไทย
ผลงาน D-N-A ได้รับเงินสด 3,000 เหรียญสหรัฐ และโล่เกียรติยศ

3. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 นาย จิรวัฒน์ สมเสนาะ จากประเทศไทย
ผลงาน รูปทรง เรขาคณิต (Geometry) ได้รับเงินสด 1,500 เหรียญสหรัฐ
และโล่เกียรติยศ

4.รางวัลชมเชย Mrs. SoheilaHemmati จากประเทศอิหร่าน
ผลงาน Pearls for all generationsได้รับเงินสด 1,000 เหรียญสหรัฐ และ
โล่เกียรติยศ  

5.รางวัลพิเศษ Popular Voteนางสาว พรนภา เด่นจารุกูล และ
นางสาว ภัสภา โพธิ์อุบล จากประเทศไทยกับ ผลงาน D-N-A
ได้รับเงินสด 500 เหรียญสหรัฐ และโล่เกียรติยศ

โครงการตามรอยพ่อฯ ก้าวสู่ปีที่9 ตอกย้ำบทบาท สื่อพอดี

เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจและองค์ความรู้ศาสตร์พระราชา ให้คนไทยสู้ทุกวิกฤตอย่างยั่งยืน จัดกิจกรรมรณรงค์ควบคู่การสร้างองค์ความรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ “คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ”

​โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) เดินหน้าสู่ปีที่ 9 ร่วมฝ่าวิกฤตโควิด-19 มุ่งทำหน้าที่ “สื่อพอดี” ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ชาวไทย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจสู่การลงมือปฏิบัติ อันจะเป็นเกราะป้องกันจากวิกฤตโควิด-19 และวิกฤตอื่นๆ ได้อย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “9 ปี แห่งพลังสามัคคี ฟันฝ่าทุกวิกฤต สู่ทางรอดที่ยั่งยืน” ด้วยการจัดทำบทเรียนออนไลน์ “คู่มือสู่วิถี กสิกรรมธรรมชาติ” เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาทฤษฎีและแนวทางการปฏิบัติ พร้อมด้วยคลิปให้กำลังใจและสร้างแรงบันดาลใจจาก 7 บรมครู เผยแพร่บนเว็บไซต์ของและเฟซบุ๊กของโครงการฯ ควบคู่กับการจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีที่จังหวัดนครราชสีมา และพระนครศรีอยุธยา และกิจกรรมประกาศความสำเร็จ 9 ปีของโครงการที่จังหวัดสระบุรี และรายการ “เจาะใจ” โดยวางมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของผู้ร่วมกิจกรรมอย่างเข้มข้น

จัดทัพรับมือโรคระบาด
​ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก และผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า “พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานข้อความ ‘สามัคคีเป็นพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย’ เตือนสติคนไทยผ่าน ส.ค.ส. ปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นสิ่งที่คณะทำงานยึดมั่นถือมั่นในการทำงานอย่างมีสติมาตลอดระยะเวลา 9 ปี ของการดำเนินโครงการตามรอยพ่อฯ ซึ่งไม่ว่าจะเกิดปัญหาหรือวิกฤตใดก็ตาม ทั้งวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม โรคระบาด ภัยแล้ง หมอกควัน วิกฤตด้านเศรษฐกิจ วิกฤตด้านความเหลื่อมล้ำทางสังคม และวิกฤตด้านการเมือง ศาสตร์พระราชา คือ องค์ความรู้ในการจัดการ ดิน น้ำ ป่า และพัฒนาคน ก็จะเป็นทางรอดที่ยั่งยืนในทุกวิกฤต ทำให้เราสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างพอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น ทั้งยังสามารถแบ่งปันและสร้างรายได้ เป็นการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะเมื่อมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปทั่วโลก ความอดอยากขาดแคลนอาหารในโลกจะมีขึ้นอย่างแน่นอน คนที่แม้ไม่เจ็บป่วยก็จะได้รับผลกระทบจากการไม่มีอาหารกิน ฉะนั้นจึงต้องสร้างฐาน 4 พอ คือ พอกิน พอใช้ พออยู่ และพอร่มเย็น ให้แน่น ให้พึ่งตนเองให้ได้จริง ต้องมั่นคงแข็งแรงพอ จึงจะมีกำลังไปช่วยคนอื่นให้รอดไปด้วยกัน โดยเชื่อมั่นว่าความสามัคคีของเครือข่ายและคนไทยทุกคนจะเป็นพลังให้เรารอดจากทุกวิกฤตได้อย่างยั่งยืน”

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก และผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

​|นายไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า “เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างยิ่งกับคนไทยทุกคน มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติและเครือข่ายจึงได้เตรียมการวางแผนรับมือกับวิกฤตในครั้งนี้ เบื้องต้นได้จัดทัพรับมือโรคระบาด โดยแบ่งทีมทำงานออกเป็น 5 ทีม ได้แก่

  1. ทีมบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) มีหน้าที่รวมรวมข้อมูลแปลงของสมาชิกเครือข่ายทั้งหมดในแต่ละจังหวัด รวมทั้งวัด โรงเรียน ชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลของทุกศูนย์และแปลงของสมาชิกเครือข่าย หากเกิดการล็อกดาวน์จะใช้ข้อมูลนี้ให้ความช่วยเหลือกันได้ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงระดับลุ่มน้ำ
  2. ทีม CMS (Crisis Management Survival Camp) มีหน้าที่เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข่าวสารทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประเมินสถานการณ์ แจ้งเตือนภัย เพื่อพัฒนาและเตรียมพร้อมไปสู่ขั้นการเป็นศูนย์พักพิงหลุมหลบภัย หรืออาจไปถึงขั้นเป็น Hospitel ทั้งในระดับ เล็ก(บ้าน) กลาง ใหญ่ โดยยึดหลักป้องกันบำบัด ฟื้นฟู
  3. ทีมพอรักษา มุ่งเป้าเร่งด่วนเรื่องโควิด-19 โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ป้องกัน (ผู้ไม่ป่วย) บำบัด (ผู้ที่ป่วยอยู่) และฟื้นฟู (ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว) โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและยาที่ควรใช้ รวมถึงเทคนิคต่าง ๆ ตามข้อมูลจากทางแพทย์แผนปัจจุบัน-ไทย-จีนและทางเลือกอื่น ๆ
  4. ทีมสื่อพอดี มีหน้าที่นำข้อมูลของทั้ง 3 ทีม มาสื่อสารต่อยอดและเผยแพร่ เพื่อให้ข้อมูล ให้ความรู้ แนะทางออก ผ่านช่องทางทางการเผยแพร่ต่าง ๆ
  5. ทีมข้อมูล มีหน้าที่จัดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และออกแบบการจัดเก็บข้อมูล เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนเครือข่าย เพื่อฝ่าวิกฤตที่กำลังเผชิญในปัจจุบันและอนาคต ในภาวะวิกฤตเช่นนี้เราไม่ควรรอความหวังหรือความช่วยเหลือจากหน่วยงานไหน ต้องพึ่งพาตัวเองและพึ่งพากันเองให้ได้มากที่สุด เชื่อมั่นว่าความสามัคคีของเครือข่ายและคนไทยทุกคนจะเป็นพลังให้เรารอดจากทุกวิกฤตได้อย่างยั่งยืน​
    โดยที่ผ่านมาเราได้เปิดรับศิษย์ เครือข่าย คนมีใจ และประชาชนที่สนใจมาเป็นอาสาสมัครให้กับทีมงานขับเคลื่อนทั้ง 5ทีม ตามความถนัดเฉพาะด้านของแต่ละคน ซึ่งการรวมกันเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งและพึ่งพากันในยามวิกฤตด้วยองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาจะทำให้เราทุกคนอยู่รอดปลอดภัย”

    ตามรอยพ่อฯ ปี 9 เดินหน้าภารกิจ “สื่อพอดี”
    ด้าน นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด เปิดเผยว่า “โครงการตามรอยพ่อฯ พร้อมที่จะเข้าไปเสริมและสนับสนุนยุทธศาสตร์การเตรียมการรับมือวิกฤตโควิด-19 ของมูลนิธิฯ อย่างเต็มที่ ในฐานะสื่อพอดี เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้เกิดการนำองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาไปลงมือปฏิบัติจนเกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่โครงการตามรอยพ่อฯ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปีนี้เป็นปีที่ 9 ผ่านกิจกรรมลงพื้นที่และการสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากทั่วประเทศกว่า 20,000 คน และยังมีผู้ที่ได้รับความรู้และแรงบันดาลใจจากสื่อที่โครงการผลิตขึ้นอีกมากมาย โดยเราจะมุ่งทำหน้าที่นี้อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องเพื่อสื่อสารว่าศาสตร์พระราชาคือทางรอดจากทุกวิกฤตอย่างแท้จริง

    ทั้งนี้ โครงการตามรอยพ่อฯ ปี 9 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘9 ปี แห่งพลังสามัคคี ฟันฝ่าทุกวิกฤต สู่ทางรอดที่ยั่งยืน’ จะเดินหน้าจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นช่องทางออนไลน์เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีไฮไลท์คือการจัดทำบทเรียนออนไลน์คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติในรูปแบบบทความและวีดิทัศน์ บอกเล่าเนื้อหาเกี่ยวกับศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครอบคลุมทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ รวม 14 บท เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำองค์ความรู้ไปลงมือทำเองได้ หากติดขัดหรือสงสัยเรามีช่องทางถามตอบในสื่อออนไลน์ของโครงการทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊กและไลน์ (@inspiredbytheking)

นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด

นอกจากนั้น โครงการตามรอยพ่อฯ ปี9 ยังมีแผนที่จะจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีที่ จ.นครราชสีมา และพระนครศรีอยุธยา ณ พื้นที่ของคนมีใจที่นำศาสตร์พระราชาไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ เพื่อให้ผู้สนใจได้มาเรียนรู้และเกิดแรงบันดาลใจผ่านการทำกิจกรรมลงแขกอย่างโบราณ และยังกำหนดจะจัดงานสรุปผลการดำเนินโครงการ 9 ปี ที่ สวนล้อมศรีรินทร์ จ.สระบุรี ที่เป็นจุดเริ่มต้นโครงการอีกด้วย โดยจะวางมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและ การเว้นระยะห่างของผู้ร่วมกิจกรรมอย่างเข้มข้น และส่งท้ายด้วยการรวบรวมคนต้นแบบและบรมครูผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการฯ ตลอดทั้ง 9 ปี เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความประทับใจในรายการเจาะใจซึ่งจะออกอากาศทางช่อง MCOT HD”

นายโจน จันใด ผู้ก่อตั้งสวนพันพรรณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์

สร้างความมั่นคงทางอาหาร สู้วิกฤต
ด้านนายโจน จันใด ผู้ก่อตั้งสวนพันพรรณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ และประธานธรรมธุรกิจ กล่าวแนะนำการดำเนินชีวิตในช่วงวิกฤตโรคระบาดนี้ว่า “เราประเมินไม่ได้ว่าเหตุการณ์จะยาวนานขนาดไหน การรอให้เศรษฐกิจดีขึ้นแล้วหวังว่าเราจะดีขึ้นเอง ก็ดูจะเป็นความฝันลม ๆ แล้ง ๆ ที่แทบเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรจะทำ คือ การกลับมาคิดถึงการพึ่งตนเองในเรื่องของอาหารเป็นอันดับแรก เราจะหาอาหารมาจากไหน ถ้าอยู่ในเมืองก็อาจต้องคิดถึงการปลูกอาหารเองง่าย ๆ เช่น การเพาะถั่วงอก หรือการปลูกผักแนวตั้ง อีกวิธีหนึ่งคือการเชื่อมต่อกับกลุ่มเกษตรกรที่เขาทำอยู่แล้ว ให้เขาส่งวัตถุดิบมาให้ ซึ่งควรเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสภาวะปกติด้วย ที่เราควรจะรู้แหล่งที่มาของอาหารที่เราบริโภค

ฉะนั้นการเชื่อมต่อกันอีกครั้งจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในสภาวะปัจจุบัน การหันกลับมาพึ่งตนเองมากขึ้น กลับมาพึ่งกันเองมากขึ้น ต่อให้ระบบพังหรืออะไรจะเกิดขึ้นเราก็ยังอยู่ได้ นี่คือแนวทางที่เราควรจะต้องกลับมาใคร่ครวญพิจารณา เครือข่ายของเรามีครบทุกอย่างไม่ว่าจะข้าว ปลา กะปิ เกลือ ผัก ฯลฯ และยิ่งถ้าคนสนใจทำแบบนี้มากขึ้นจะทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจแนวใหม่ ระบบการค้าแนวใหม่ ที่ทำให้คนได้คุยกันตรงมากขึ้นโดยไม่อ้อม นี่คือสิ่งที่ผมเห็นว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ นี่คือแนวโน้มที่จะทำให้เราอยู่ได้ในช่วงโควิด-19”

​ผู้ที่สนใจติดตามกิจกรรมในโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ได้ทาง www.facebook.com/ajourneyinspiredbytheking หรือดูรายละเอียดที่ https://ajourneyinspiredbytheking.org

GIT เปิดเวที! GIT’s World Jewelry Design Awards 2021

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GITชวนนักออกแบบไทย-เทศ ปลดปล่อยพลังความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลงานออกแบบเครื่องประดับ ชิงรางวัล GIT’s World Jewelry Design Awards 2021 ภายใต้แนวคิด Intergeneration Jewelry ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุค New Normal

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ กล่าวว่า ท่ามกลางวิกฤต Covid 19 ทำให้พฤติกรรมการใช้เครื่องประดับของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ในปีนี้ เราได้ออกแบบการประกวดภายใต้แนวคิด

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ

“Intergeneration Jewelry” – jewelry for every generation เครื่องประดับที่ก้าวข้ามข้อจำกัดของเจนเนอเรชั่น การหลอมเป็นความคิดและประสบการณ์ของคนในแต่ละเจนเนอร์เรชั่น โดยการนำเสนอคุณค่า ความงดงาม ของวัสดุ/วัตถุดิบอันมีค่าที่เลือกใช้ ผสมผสานผ่านการนำเสนอแนวคิดในการออกแบบเครื่องประดับเพื่อทุกคน (Design for all) ซึ่งการประกวดครั้งนี้ เป็นโจทย์ที่ท้าทาย เพราะนักออกแบบรุ่นใหม่ จะต้องนำแนวคิด ประสบการณ์ ความชื่นชอบเครื่องประดับของผู้คนในทุกช่วงอายุ มาหล่อหลอมรวมและรังสรรค์ออกมาเป็นเครื่องประดับแบบใหม่ เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดคนในแต่ละเจเนอเรชั่น

เราคาดหวังจะได้เห็นผลงานออกแบบใหม่ๆ ที่ฉีกกรอบเดิม และสร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเปิดให้นักออกแบบนำวัสดุใหม่ๆ ที่น่าสนใจ เช่น ไม้ พลาสติก เรซิ่น รวมทั้งนวัตกรรมอื่นๆ มาออกแบบตามความเหมาะสม และจะต้องสามารถนำมาพัฒนาเป็นจิวเวลรี่ที่จำหน่ายได้จริง โดยเบื้องต้นสถาบันจะตัดสินรอบคัดเลือกแบบวาด และนำแบบวาดที่เข้ารอบสุดท้าย 4 แบบวาด มาผลิตเป็นเครื่องประดับจริงเพื่อนำไปตัดสินอีกครั้ง และประกาศรางวัลผู้ชนะเลิศ พร้อมทั้งแสดงแฟชั่นโชว์ด้วยดารานางแบบชั้นนำ ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน จากนั้นสถาบันจะนำผลงานการออกครั้งนี้ไปจัดแสดงในงานแสดงสินค้าต่างๆ อาทิ โชว์ในงานบางกอกเจมส์ แอนด์ จิวเวลรี่ แฟร์ และ งานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2021 เพื่อเป็นการตอกย้ำการเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกของประเทศไทย” (Thailand’s Gems and Jewelry Hub of The World)

การประกวดครั้งนี้มีรางวัลมูลค่ารวมกว่า 300,000 บาท หรือ 10,000 เหรียญสหรัฐ โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 4,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ รองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัลมูลค่า 3,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 1,500 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ และรางวัลชมเชย

1 รางวัล เงินรางวัล 1,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ โดยจะประกาศผลการตัดสินรอบแรกจากแบบวาดในวันที่ 15 มิถุนายน นี้ โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากทั่วโลก อาทิ นางสิริพร ภาณุพงศ์ อดีตอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา รองประธานกรรมการ สำนักกฎหมาย Royal Law ม.ล. คฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นายสุริยน ศรีอรทัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทบิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่ จำกัด นายชาญชัย เลิศกุลทานนท์ รองประธานกรรมการ การผลิตกลุ่มและผลิตภัณฑ์ใหม่ บริษัท PANDORA PRODUCTION, ดร.ธัชวิน สุรเศรษฐ กรรมการผู้จัดการ L.S.Jewelry Group (Lee Seng Jewelry), Prof. Paolo Torriti: Professor at the University of Siena, Italy และ Mr. Saeed Mortazavi Founder & CEO of Mortazavi Design Academy, Iran, Prof. Kwon Ju Han: Professor at College of Art and Design, Faculty of Applied Arts, Republic of Korea

ทั้งนี้ นักออกแบบจะต้องส่งแบบวาดไม่จำกัดเทคนิค หรือภาพเขียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ตรงกับหัวข้อ จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ชิ้นใน 1 ชุดหรือคอลเลคชั่น โดยในคอลเลชั่นนั้นจะต้องมีสร้อยคอเป็นหลัก และเครื่องประดับอื่นๆ เช่น ต่างหู แหวน กำไล เป็นต้น

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัครและส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 พฤษภาคม 2564 ผ่านทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.gitwjda.com หรือส่งผลงานพร้อมใบสมัครทางไปรษณีย์ หรือส่งผลงานด้วยตัวเองที่ฝ่ายฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 3 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฝ่ายฝึกอบรม โทร. +66 2 634 4999 ต่อ 301-306 และ 311-313 และดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่ www.gitwjda.com

GFC (เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์) ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยากแบบครบวงจร

GFC เผยไทยมีแนวโน้มอัตราการเจริญพันธุ์เหลือ 1.5 เทียบเคียงประเทศญี่ปุ่น
เกิดจากความพร้อมมีบุตรอายุเกิน 35 ปี ส่งผลให้เข้าสู่ภาวะมีบุตรยาก
พร้อมเปิดตัว Eeva เทคโนโลยีเลือกตัวอ่อนที่แม่นยำมาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย GFC (เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์) ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยากแบบครบวงจร ระบุอัตราการเจริญพันธุ์รวมของประเทศไทยลดลงเหลือเพียง 1.5 เทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่น

เนื่องจากกลุ่มคนวัยทำงานตัดสินใจมีลูกในช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป ส่งผลให้อยู่ในภาวะมีบุตรยาก จึงต้องอาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้าช่วยพร้อมเปิดตัว Eeva เทคโนโลยีเลือกตัวอ่อนใหม่ล่าสุดซึ่งนำมาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีประสิทธิภาพแม่นยำ สามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้สูงถึง 70 %เมื่อเทียบค่ามาตรฐานทั่วไป

นายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (GFC)

นายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (GFC) ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเปิดเผยว่า จากผลการสำรวจและสถานการณ์ของประชากรในปัจจุบันประเทศไทยเป็น 1ใน23 ประเทศที่มีงานวิจัยระบุว่า ในอีก 80 ปีข้างหน้า จำนวนประชากรจะลดลงจาก 71 ล้านคน เหลือเพียง35 ล้านคน ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ค่านิยมการอยู่เป็นโสด ผู้หญิงมีความสามารถและการศึกษาสูงขึ้น ต้องการทำงานสร้างฐานะเป็นอันดับแรก ชะลอเรื่องการแต่งงานมีครอบครัวประกอบกับข้อมูลจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุขพบว่าสถิติทางสาธารณสุขของอัตราการเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rate – TFR) ของประเทศไทยลดลงเหลือเพียง 1.5 ซึ่งเป็นอัตราเทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่น และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ส่งผลให้ในอนาคตประเทศไทยจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานและก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัวจากการที่กลุ่มคนวัยทำงานตัดสินใจมีบุตรในช่วงอายุที่มากขึ้น ประกอบกับความเครียดจากการทำงาน ทำให้คู่สมรสหลายคู่ต้องหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์จากปัจจัยดังกล่าว GFC ในฐานะที่ปรึกษาและศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากที่เปิดดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 5มองว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจและแสดงถึงศักยภาพทางการแพทย์ของไทยโดยพบว่าในปี 2562 การให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศราว4,500 ล้านบาท

“ปัจจุบันความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์มีการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทช่วยด้านการเจริญพันธุ์นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีศักยภาพที่ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งกลุ่มลูกค้าของ GFC เป็นคนไทยประมาณ90% ส่วนอีก10% เป็นกลุ่มที่สามีหรือภรรยาเป็นคนไทยกับคนต่างชาติ”

นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ กรรมการบริหาร/ กรรมการด้านการเงินและพัฒนาธุรกิจ

ด้าน รศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศริริราชและประธานกรรมการบริหาร เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ (GFC) กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาการมีบุตรยากของคนไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปีเนื่องจากรอความพร้อมด้านการเงิน หน้าที่การงาน ส่งผลให้แต่งงานช้าลง โดยความต้องการมีบุตรอายุเฉลี่ยอยู่ที่35 – 40 ปีซึ่ง85% ของคู่สมรสจะสามารถมีบุตรได้ภายใน 1 ปี หลังการแต่งงานและ 95% ของคู่สมรสจะมีบุตรได้ภายใน 2 ปี หากเกินช่วงเวลาดังกล่าวจะถูกจัดในภาวะมีบุตรยากซึ่งการมีบุตรตอนอายุมากโดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุ 35ปี ขึ้นไปความสมบูรณ์ของไข่จะมีน้อยและคุณภาพไข่ไม่ดี ส่วนผู้หญิงที่อายุเกิน 48ปี
ไม่ควรท้องด้วยวิธีธรรมชาติ

เนื่องจากเป็นช่วงที่สุขภาพและความพร้อมของร่างกายไม่สมบูรณ์เต็มที่เหมือนช่วงวัยหนุ่มสาวส่งผลให้เด็กที่เกิดมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมได้ดังนั้นการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะวิธีทำเด็กหลอดแก้วและNGS เพื่อตรวจความสมบูรณ์ของโครโมโซม

รศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศริริราชและ
ประธานกรรมการบริหาร เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ (GFC)

พญ. ปรวัน ตั้งธรรมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ของ Genesis Fertility Center และผู้ก่อตั้งเพจ มีลูกยาก ปรึกษา หมอมิ้งค์
กล่าวเสริมว่า GFC มีเทคโนโลยีชื่อ Eeva ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเลือกตัวอ่อนใหม่ล่าสุด ที่ GFC Clinic นำมาใช้แห่งแรกในประเทศไทย โดยมีใช้ในต่างประเทศมาประมาณ 5 ปี ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถเลือกตัวอ่อนได้มีประสิทธิภาพและแม่นยำ เนื่องจากมีการนำระบบ AI มาใช้ในการตรวจจับการเติบโตของตัวอ่อน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุดในการนำมาฝังตัว ซึ่งเมื่อทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการตรวจ NGS จะสามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์สูงถึง73%เมื่อเทียบกับมาตรฐานที่อื่นซึ่งมีอัตราตั้งครรภ์อยู่ที่ประมาณ30-50% สำหรับจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือการเป็นตู้เลี้ยงตัวอ่อนแยกของแต่ละเคส โดยตู้เลี้ยง 1ตู้สำหรับ1 คนไข้ ไม่ใส่รวมปะปนกัน เพื่อลดการรบกวน พร้อมควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสม เพราะเราให้ความสำคัญกับความสำเร็จของคนไข้เป็นอันดับแรก พญ.ปรวัน ตั้งธรรม -กล่าว

พญ.ปรวัน ตั้งธรรมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ของ Genesis Fertility Center
และผู้ก่อตั้งเพจ มีลูกยาก

พร้อมกันนี้ ยังได้สร้างช่องทางในการให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจ โดยได้ทำ
การไลฟ์สดผ่านทางเพจเฟซบุ้กทุกๆ 2 สัปดาห์ เน้นเนื้อหาเหมือนคุณหมอมา
จัดรายการวิทยุให้ฟัง เพื่อให้คนที่มีปัญหาหรือต้องการ สอบถามข้อมูล ได้เข้ามาถาม-ตอบกันแบบสดๆ ซึ่งทั้งหมดเป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.genesisfertilitycenter.co.th
หรือที่เฟซบุ้ก www.facebook.com/GFC.Bangkok/

แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศาลาสหทัยสมาคม พระบรมมหาราชวัง

วันที่ 25 มกราคม 2564 นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด นำคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ววัน และทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข Call Center 1690 หรือ www.srtet.co.th , www.facebook.com/AirportRailLink และ Twitter : Airport Rail Link

แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เตรียมพร้อมมาตรการอำนวยความสะดวก และรักษาความปลอดภัยรองรับการเดินทางของผู้โดยสาร

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เตรียมพร้อมมาตรการอำนวยความสะดวก และรักษาความปลอดภัยรองรับการเดินทางของผู้โดยสารในช่วงวันหยุดยาว 25 – 28 กรกฎาคม 2563

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงวันหยุดยาว 25 – 28 กรกฎาคม 2563 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ได้เตรียมพร้อมมาตรการอำนวยความสะดวก และรักษาความปลอดภัย เพื่อให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย และความปลอดภัยในการเดินทาง โดยได้เตรียมดำเนินการต่างๆ ดังนี้

ด้านการอำนวยความสะดวก มีการประชาสัมพันธ์จุดให้บริการรถรับจ้างสาธารณะ (Taxi) ที่แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีพญาไท และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีมักกะสัน

ด้านการรักษาความปลอดภัยมีการจัดทำประกาศ และแจ้งข้อมูลด้านความปลอดภัยในการโดยสารรถไฟฟ้า รวมทั้งมีมาตรการยกระดับการป้องกันอันตรายด้านการเดินรถ โดยให้สถานีรถไฟฟ้าทุกสถานีมีการรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง และจัดจุดตรวจสัมภาระผู้โดยสารก่อนเข้าระบบรถไฟฟ้า เพื่อตรวจหาวัตถุต้องห้ามที่ไม่สามารถนำเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งประกาศแจ้งเตือนผู้โดยสารเกี่ยวกับการระมัดระวังทรัพย์สิน และกระเป๋าสัมภาระที่ไม่มีเจ้าของในระบบรถไฟฟ้า พร้อมกำชับสถานีต่างๆ ให้ควบคุมติดตามการใช้งานโทรทัศน์วงจรปิด ( CCTV ) และเฝ้าระวังหน้าจอมอนิเตอร์อยู่เสมอ รวมถึงมีการตรวจตราบนขบวนรถไฟฟ้าโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ยังได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟ เพื่อขอกำลังเข้าสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานประจำสถานี รวมถึงจัดชุดตรวจผสม และชุดสุนัขตรวจวัตถุระเบิด (K9) ออกตรวจสอบพื้นที่ในระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งกำหนดวัตถุต้องห้ามที่ไม่สามารถนำเข้ามาในระบบรถไฟฟ้า ได้แก่ อาวุธ ของมีคม ลูกโป่ง และพลุดอกไม้ไฟทุกชนิด

นอกจากนั้นบริษัทยังเข้มงวดในมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ทั้งการตั้งจุดคัดกรองอุณหภูมิ และตรวจตราการสวมหน้ากากอนามัยของผู้โดยสารก่อนเข้าใช้บริการอย่างเข้มงวด รวมถึงมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ที่ขอความร่วมมือผู้โดยสารเว้นระยะห่าง 2 เมตรขณะรอซื้อตั๋วโดยสาร และตรวจวัดอุณหภูมิ หรือยืนในระยะห่างที่เหมาะสมขณะใช้ลิฟต์ และบันไดเลื่อน รวมทั้งมีการจัดระเบียบผู้โดยสารในชั้นชานชาลาให้มีระยะห่างระหว่างกันอย่างเหมาะสม ซึ่งหากในกรณีมีผู้โดยสารหนาแน่น จะดำเนินการจำกัดปริมาณผู้โดยสารที่จะขึ้นสู่ชั้นชานชาลา และภายในขบวนรถไฟฟ้า โดยกำหนดพื้นที่ในการยืนรอห่างกัน 1 เมตร งดเว้นการพูดคุยภายในตู้โดยสาร และมีการเพิ่มความถี่ในการดูแลทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคภายในบริเวณสถานี และขบวนรถ

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข Call Center 1690 หรือ www.srtet.co.th , www.facebook.com/AirportRailLink และ Twitter : Airport Rail Link

บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)

กว่า 73 ปี กับประสบการณ์ที่สั่งสมด้านการเป็นผู้นำทางด้านประกันภัย เราดำเนินงานอย่างโปร่งใส ยึดหลัก “ความเป็นธรรม คือ นโยบาย” มาอย่างต่อเนื่อง คุณภาพด้านการบริหารองค์กรที่ได้ศักยภาพ และคุณภาพการบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม ทำให้เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ให้เป็นบริษัทประกันภัยอันดับหนึ่งมาโดยตลอด เรายังคงมุ่งมั่นทำหน้าที่ช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับคนในสังคม ด้วยความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา คำนึงถึงประโยขน์ของทุกฝ่าย และพร้อมที่จะก้าวต่อไปเพื่อเป็นรากฐานบริษัทประกันภัยที่แข็งแกร่งสำหรับประเทศ เพื่อสังคมไทยที่จะเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงตลอดไป

นายถิรพุทธิ์ เปรมาประยูรวงศา นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ รับมอบทุนสนับสนุนโครงการสวัสดิการทุนการศึกษาให้กับบุตร-ธิดา สมาชิกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ประจำปี 2563 จำนวน 50,000 บาท จากบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)

โดยมี นายพงศ์พันธ์ ประภาศิริลักษณ์  รองผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร เป็นผู้แทนมอบ ทั้งนี้สมาคมฯ ได้ดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นประจำทุกปี เพื่อจัดหาทุนเป็นสวัสดิการและแบ่งเบาภาระให้แก่สมาชิกของสมาคมฯ โดยพิธีมอบจัดขึ้น ณ สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ตึกช้าง ถนน พหลโยธิน แขวง จันทรเกษม เขตจตุจักร

มหกรรมฮาลาลใหญ่ส่งท้ายปี งาน “ThailandHalal Assembly 2018”

ฉลอง 20 ปี มาตรฐานฮาลาลไทย ภายใต้แนวคิด “บูรณาการฮาลาลแม่นยำยุคเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ยกระดับกิจการฮาลาลไทยสู่ยุคสมัยแห่งการฮาลาลแม่นยำ

ฉลองครบรอบ 20 ปี มาตรฐานฮาลาลไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย  (สมฮท.)

จัดการประชุมวิชาการและการแสดงสินค้านานาชาติ “THAILANDHALAL ASSEMBLY 2018” ปีที่ 5 ภายใต้แนวคิด “บูรณาการฮาลาลแม่นยำยุคเศรษฐกิจฐานชีวภาพ” ยกระดับกิจการฮาลาลไทยสู่ยุคสมัยแห่งการฮาลาลแม่นยำกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 14 – 16 ธันวาคม 2561 ณ.ไบเทค บางนา โดยมี นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นประธานเปิดงาน

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานจัดงาน ThailandHalal Assembly 2018 กล่าวว่า การจัดงาน “Thailand HalalAssembly” หรือ THA นั้นเริ่มจัดขึ้นในปี 2014 โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ในฐานะเจ้าภาพหลักร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย (สมฮท.) ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรศาสนาอิสลามมาโดยตลอด
จึงทำให้งาน THA ถือเป็นงานประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลนานาชาติที่นับว่าดีที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดซึ่งงานดังกล่าวเป็นการจัดงานที่รวบรวมงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบรนด์ฮาลาลประเทศไทยมารวมเข้าด้วยกันเพื่อเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ที่จะแสดงศักยภาพของกิจการฮาลาลประเทศไทยให้ประชาคมโลกได้รับรู้ถึงคุณลักษณะที่โดดเด่นในระบบและกระบวนการดำเนินงานภายใต้หลักการ ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับอันเป็นผลให้ผลิตภัณฑ์ฮาลาลของไทยเป็นที่เชื่อถือในตลาดโลก

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานจัดงาน ThailandHalal Assembly 2018

การจัดการประชุมวิชาการและการแสดงสินค้านานาชาติ  “Thailand Halal Assembly 2518” หรือ THA 2018ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5
ระหว่างวันที่ 14 – 16ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม
ไบเทค (BITEC)กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด “Precision Halalization in TheBioeconomy Era” หรือ “บูรณาการฮาลาลแม่นยำในยุคเศรษฐกิจชีวภาพ”เพื่อส่งเสริมให้กิจการฮาลาลประเทศไทยพัฒนาสู่ยุคสมัยแห่งการฮาลาลแม่นยำซึ่งการบูรณาการฮาลาลแม่นยำ คือ ระบบที่บูรณาการมาตรฐาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีนวัตกรรม เข้ากับกระบวนการฮาลาล โดยความสำเร็จครั้งนี้ย่อมนำประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานชีวภาพที่คำนึงถึงคุณค่าของสังคมและสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นคงทางอาหารรังสรรค์ประเทศไทยสู่ความมีประสิทธ์ภาพควบคู่ความพอเพียง

การบูรณาการฮาลาลแม่นยำเป็นความพยายามของไทยในการผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อการรับรองฮาลาล ไม่ว่าจะการตรวจทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ฮาลาลโดยนำระบบ H-number ที่พัฒนาขึ้นใหม่เข้ามาใช้
เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารสามารถเลือกวัตถุดิบฮาลาลได้อย่างถูกต้องไม่จำเป็นต้องตรวจการปนเปื้อนในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อีกต่อไปและเลือกใช้ห้องปฏิบัติการเฉพาะที่จำเป็น ในระบบการมาตรฐานฮาลาลมีการพัฒนาระบบ HAL-QPlus เพื่อให้การดำเนินงานการมาตรฐานฮาลาลเป็นไปอย่างจำเพาะโดยใช้เวลาสั้นและเลือกทำเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนหะรอมเท่านั้น

โดยกิจกรรมภายในงาน THA 2018 ประกอบด้วยงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและธุรกิจฮาลาลครั้งที่ 11 (Halal Science, Industry and Business InternationalConference; 11th HASIB 2018) รวมกับงานแสดงสินค้า ThailandInternational Halal Expo 2018 (TIHEX) ที่รวมผู้ประกอบการฮาลาลทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 350 บูท, การประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยมาตรฐานฮาลาลจากหน่วยงานตรวจรับรองฮาลาลทั่วโลก,การประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย, กิจกรรมธุรกิจภิวัฒน์,การจับคู่เจรจาทางธุรกิจฮาลาล, การจัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องรวมถึงการนำเสนอผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล ที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนงานด้านฮาลาลต่อไป


รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานจัดงาน ThailandHalal Assembly 2018

และพิเศษสุดภายในปีนี้กับ นิทรรศการ “ฉลอง 20ปี มาตรฐานฮาลาลไทย” จากจุดเริ่มต้นในการกำหนดมาตรฐานฮาลาล CODEK มาสู่มาตรฐานฮาลาลของประเทศไทยโดยการบูรณาการศาสนบัญญัติอิสลามเข้ากับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล ภายใต้แนวทาง“ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ” มุ่งหวังผลักดันผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลไทยให้ก้าว
ขึ้นเป็นผู้นำในตลาดอาหารโลกรูปแบบความร่วมมือที่ชื่อว่า “ฮาลาลเพชรจากประเทศไทย” หรือ ThailandDiamond Halal เพื่อแสดงถึงความเป็นที่หนึ่งในโลกของฮาลาลประเทศไทยด้วยมาตรฐานฮาลาลของประเทศรศ.ดร.วินัย กล่าวปิดท้าย

กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 14 – 16 ธันวาคม 2561
ณไบเทค บางนา